A preliminary survey : Quality of plastic melamine kitchenware

Thawat Nusonthara, Pawarisa Srisury, Supattra Charoenkasemwit

Abstract


This research is the preliminary survey of melamine kitchenware quality in Thailand. The sampling and testingof melamine-ware was carried out from January 2013 to March 2014 in areas of Chiang Rai, Nong Khai, Mukdahan, Nakhonratchasima, Lop Buri, Saraburi, Pathum Thani, Nakhon Sawan, Songkhla and Bangkok. The total of 71 sampleswas analyzed and the producing countries consisted of Thailand, China, Vietnam and unknown as following 20, 36, 2 and 13 samples, respectively. The plastic types were determined using Fourier transform infrared spectroscopy (FT-IR)and the results were 21 samples of melamine-formaldehyde, 8 samples of urea - formaldehyde and 42 samples of urea - formaldehyde coated with melamine - formaldehyde. The qualities of plastic melamine kitchenware were specified by testing the formaldehyde and melamine release. The formaldehyde and melamine release were measured using UV-visible spectroscopy method: DD CEN/TS 13130-23 : 2005 and ultra high performance liquid chromatography (UHPLC) method: DD CEN/TS 13130 27 : 2005, respectively. The samples were exposed to food simulant 3% (w/v) aqueous acetic acid, repeat three times under condition temperature 70?C, 2 hours. The results of third exposure were formaldehyde and melamine. European Union issued EU Regulation No. 10/2011 specified limits for migration of formaldehyde and melamine as 15.0 mg/kg and 2.5 mg/kg, respectively. The results found that the 62 percentages of the melamine - formaldehyde did not meet EU regulation limit. The amount of formaldehyde was found in the rangeof 16.0-797.5 mg/kg and 3.0-455.8 mg/kg for melamine. All of urea-formaldehyde did not meet EU regulation limit in the range of 22.2-12,193.8 mg/kg for formaldehyde and 3.1-16.6 mg/kg for melamine. The 88 percentages of urea -formaldehyde coated with melamine - formaldehyde did not meet Eu regulation limit in the range 15.2 to 5247.6 mg/kg for formaldehyde and 2.7 26.9 mg/kg for melamine. The results of this study indicated that almost of plastic melamine kitchenware in the country not meet the standards in formaldehyde and melamine substances. Therefore, using the plastic melamine kitchenware for food contact materials should be caution for use.

 

บทคัดย่อ

รายงานการศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณภาพของเครื่องใช้ในครัวเรือนประเภทพลาสติกเมลามีนที่จำหน่ายในประเทศ โดยสุ่มเก็บตัวอย่างในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2557 จากจังหวัดเชียงราย หนองคาย มุกดาหาร นครราชสีมา ลพบุรีสระบุรี ปทุมธานี นครสวรรค์ สงขลา และกรุงเทพฯ รวมทั้งสิ้นจำนวน 71 ตัวอย่าง แยกตามประเทศผู้ผลิตได้แก่ ไทย จีน เวียดนาม และที่ไม่ระบุแหล่งผลิตเป็น 20, 36, 2 และ 13 ตัวอย่าง จากการตรวจสอบชนิดของพลาสติกที่ใช้ผลิตพลาสติกเมลามีนด้วยเทคนิค Fourier transform infrared spectroscopy (FT-IR) พบว่าเป็นพลาสติกเมลามีนชนิดเมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ 21 ตัวอย่าง ชนิดยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์ 8 ตัวอย่าง และชนิดยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์เคลือบด้วยเมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ 42 ตัวอย่าง ซึ่งการระบุคุณภาพของเครื่องใช้ในครัวเรือนประเภทพลาสติกเมลามีนด้วยการทดสอบปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์โดยเทคนิค UV-visible spectroscopy ตามวิธีทดสอบ DD CEN/TS 13130-23:2005 และการทดสอบปริมาณสารเมลามีนโดยเทคนิค Ultra-High Performance Liquid Chromatography (UHPLC) ตามวิธีทดสอบ DD CEN/TS 13130-27: 2005 สภาวะทดสอบตัวอย่างสกัดด้วยสารละลายกรดแอซีติกร้อยละ 3 โดยมวลต่อปริมาตร ที่อุณหภูมิ 70 ํC เป็นเวลา 2 ชั่วโมง และแต่ละตัวอย่างสกัดซ้ำ จำนวน 3 ครั้ง โดยใช้ผลการทดสอบของการสกัดครั้งที่ 3 สำหรับตรวจวัดสารฟอร์มาลดีไฮด์และสารเมลามีน โดยตามข้อกำหนดในมาตรฐาน Commission Regulation (EU) No. 10/2011 กำหนดค่าสารฟอร์มาลดีไฮด์ไม่มากกว่า15.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และสารเมลามีนไม่มากกว่า 2.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่าเครื่องใช้ในครัวเรือนประเภทพลาสติกเมลามีนที่จำหน่ายในประเทศชนิดเมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 62 ตรวจพบปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ในช่วง 16.0-797.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปริมาณเมลามีนในช่วง 3.0-455.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับพลาสติกเมลามีนชนิดยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทุกตัวอย่าง ตรวจพบปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ในช่วง 22.2-12,193.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปริมาณเมลามีนในช่วง 3.1-16.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และพลาสติกเมลามีนชนิดยูเรีย-ฟอร์มาลดีไฮด์เคลือบด้วยเมลามีน-ฟอร์มาลดีไฮด์ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 88 ตรวจพบปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์และปริมาณเมลามีนในช่วง 15.2-5,247.6 และ 2.7-26.9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ผลการศึกษาวิจัยนี้สามารถบ่งชี้ได้ว่าเครื่องใช้ในครัวเรือนประเภทพลาสติกเมลามีนที่จำหน่ายในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีปริมาณเมลามีนและปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้นการนำเครื่องใช้ในครัวเรือนประเภทพลาสติกเมลามีนมาใช้งานควรให้ความระมัดระวังในการใช้


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.